สายพันธุ์หญ้าแฝก
หญ้าแฝกลุ่ม
(Vetiveria zizanioides Nash) | ||||||||||||
ลักษณะที่สำคัญ คือ หลังใบโค้งปลายใบ แบนมีสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างเนียน มีใขเคลือบ (wax) มากทำให้ดูมัน ท้องใบออกสีขาว ซีดกว่าด้านหลังใบ และเมื่อนำใบส่องดูกับแดดจะเห็นรอยกั้นขวางในเนื้อใบ (septum) โดยเฉพาะพื้นใบบริเวณส่วนโคนและกลางใบ เส้นกลางใบ (midrib) ฝังอยู่ในตัวแผ่นใบไม่โตหรือเด่นชัดเจน | ||||||||||||
หญ้าแฝกลุ่มอายุประมาณ 1 ปี จะมีรากที่หยั่งลึกได้ประมาณกว่า 1 เมตร จะขึ้นอยู่กับสภาพของดินและความสมบูรณ์ของพืช โดยเฉพาะดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดีหญ้าแฝกจะให้รากยาวที่สุด | ||||||||||||
| ||||||||||||
หญ้าแฝกดอน
(Vetiveria nemoralis A.Camus) | ||||||||||||
ลักษณะที่สำคัญ คือ ใบสีเขียวซีด หลังใบพับเป็นสันสามเหลี่ยม เนื้อใบหยาบ สากคาย มีไขเคลือบน้อย ทำให้ดูกร้านไม่เหลือบมัน ท้องใบสีเดียวกับด้านหลังใบ แต่มีสีซีดกว่า แผ่นใบเมื่อส่องกับแดดไม่เห็นรอยกั้นในเนื้อใบ เส้นกลางใบสังเกตได้ชัดเจน มีลักษณะแข็งเป็นแกนนูนทางด้านหลัง | ||||||||||||
ช่อดอกของหญ้าแฝกดอนจะมีได้หลายสี ซึ่งเป็นลักษณะปกติประจำถิ่น และหญ้าแฝกดอนจะมีรากที่สั้นกว่า โดยทั่วไปหญ้าแฝกที่มีอายุประมาณ 1 ปี จะมีรากลึกประมาณ 80-100 ซม. | ||||||||||||
สายพันธุ์กำแพงเพชร 1
| |
ลักษณะการแตกหน่อแน่น กอตั้ง หน่อมีขนาดใหญ่ ใบมีสีเขียวนวล หยาบกร้าน กาบใบสีฟ้านวล มีสันกลางใบชัดเจน ความกว้างของใบ 1 ซม. ดอกสีม่วง
| |
สายพันธุ์นครสวรรค์
| |
ลักษณะเป็นกอกางเป็นพุ่ม มีการแตกหน่อแน่น ใบมีสีเขียว หยาบกร้าน กาบใบมีสีฟ้าอมเทา มีสันกลางใบชัดเจน ความกว้างของใบ 0.8 ซม.ดอกสีม่วง
| |
สายพันธุ์เลย
| |
ลักษณะกอตั้ง มีการแตกหน่อแน่น ใบมีสีเขียว กาบใบมีสีชมพู ใบกร้าน มีสันกลางใบชัดเจน ความกว้างของใบ 0.9 ซม. หน่อมีขนาดใหญ่ ดอกสีน้ำตาลอมม่วง
| |
สายพันธุ์ร้อยเอ็ด
| |
ลักษณะกอตั้ง มีการแตกหน่อแน่นหน่อมีขนาดเล็ก ใบมีสีเขียว หยาบกร้าน มีสันกลางใบชัดเจน ความกว้างของใบ 0.5 เซนติเมตร ดอกสีน้ำตาล
| |
สายพันธุ์ราชบุรี
| |
มีลักษณะกอตั้ง มีการแตกหน่อแน่น ใบมีสีเขียว หยาบกร้านมีสันกลางใบชัดเจน ความกว้างของใบ 1 ซม. ดอกสีม่วง
| |
สายพันธุ์ประจวบคีรีขันธุ์
| |
มีลักษณะกอกางเป็นพุ่ม มีการแตกหน่อแน่น ใบมีสีเขียว ท้องใบสีขาว มีสันกลางใบชัดเจน ความกว้างของใบ 1 ซม. ใบจะค่อนข้างแบน ดอกสีม่วง
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น