การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก
การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า การพังทลายของดินอันสืบเนื่องมาจากน้ำไหลบ่าตามผิวดิน เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ และส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นปัญหา ที่สมควรได้รับการแก้ไขป้องกันโดยเร็ว ด้วยการนำมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ที่เหมาะสมมาใช้ มาตรการหนึ่งที่ได้ทรงแนะนำ ได้แก่ มาตรการ หญ้าแฝกโดยได้พระราชทานพระราชดำริ เป็นครั้งแรกแก่เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) เมื่อวันที่ 22มิถุนายน พ.ศ. 2534 และต่อมาก็ได้พระราชทานพระราชดำริแก่ผู้เกี่ยวข้อง ในวาระต่าง ๆ พระราชดำริดังกล่าวมีประเด็นสำคัญโดยสรุปดังนี้
"…. หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาและทดลองปลูก ในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง โดยพิจารณาจากลักษณะของ ภูมิประเทศ คือ บนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บกักความชื้นของดินไว้ด้วย บนพื้นราบให้ปลูกหญ้าแฝก รอบแปลงหรือปลูกในแปลง ๆ ละ 1 หรือ 2 แถว ส่วนแปลงพืชไร่นา ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ เพื่อที่รากของหญ้าแฝกจะอุ้มน้ำไว้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน และหญ้าแฝกจะเป็นตัวกักเก็บไนโตรเจนและกำจัดสิ่งเป็นพิษหรือ สารเคมีอื่น ๆ ไม่ให้ไหลลงไปในแม่น้ำลำคลอง โดยกักให้ไหลลงไปใต้ดินแทน การปลูกรอบพื้นที่เก็บกักน้ำ เพื่อป้องกันดินพังทลาย ลงไปในอ่างเก็บน้ำ ทำให้อ่างเก็บน้ำไม่ตื้นเขิน ตลอดจนช่วยรักษาหน้าดินเหนืออ่าง และช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว ในบริเวณที่มีหญ้าคาระบาด ควรทำการศึกษาดูว่าหญ้าแฝกจะสามารถควบคุมหญ้าคาได้หรือไม่ พื้นที่เหนือแหล่งน้ำ ควรปลูกเพื่อเป็นแนวป้องกันตะกอนและดูดซับสารพิษต่าง ๆ ไว้ในรากและลำต้นได้นาน จนสารเคมีนั้นสลายตัวเป็นปุ๋ยสำหรับพืชต่อไป ทั้งนี้ให้บันทึกภาพก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน ส่วนผลของการศึกษาทดลอง ควรเก็บข้อมูลทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้นและราก ความสามารถในการอนุรักษ์และเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน การเก็บความชื้นของดิน และ ด้านพันธุ์ต่าง ๆ ของหญ้าแฝกด้วย"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า การพังทลายของดินอันสืบเนื่องมาจากน้ำไหลบ่าตามผิวดิน เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ และส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นปัญหา ที่สมควรได้รับการแก้ไขป้องกันโดยเร็ว ด้วยการนำมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ที่เหมาะสมมาใช้ มาตรการหนึ่งที่ได้ทรงแนะนำ ได้แก่ มาตรการ หญ้าแฝกโดยได้พระราชทานพระราชดำริ เป็นครั้งแรกแก่เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) เมื่อวันที่ 22มิถุนายน พ.ศ. 2534 และต่อมาก็ได้พระราชทานพระราชดำริแก่ผู้เกี่ยวข้อง ในวาระต่าง ๆ พระราชดำริดังกล่าวมีประเด็นสำคัญโดยสรุปดังนี้
"…. หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาและทดลองปลูก ในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง โดยพิจารณาจากลักษณะของ ภูมิประเทศ คือ บนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บกักความชื้นของดินไว้ด้วย บนพื้นราบให้ปลูกหญ้าแฝก รอบแปลงหรือปลูกในแปลง ๆ ละ 1 หรือ 2 แถว ส่วนแปลงพืชไร่นา ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ เพื่อที่รากของหญ้าแฝกจะอุ้มน้ำไว้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน และหญ้าแฝกจะเป็นตัวกักเก็บไนโตรเจนและกำจัดสิ่งเป็นพิษหรือ สารเคมีอื่น ๆ ไม่ให้ไหลลงไปในแม่น้ำลำคลอง โดยกักให้ไหลลงไปใต้ดินแทน การปลูกรอบพื้นที่เก็บกักน้ำ เพื่อป้องกันดินพังทลาย ลงไปในอ่างเก็บน้ำ ทำให้อ่างเก็บน้ำไม่ตื้นเขิน ตลอดจนช่วยรักษาหน้าดินเหนืออ่าง และช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว ในบริเวณที่มีหญ้าคาระบาด ควรทำการศึกษาดูว่าหญ้าแฝกจะสามารถควบคุมหญ้าคาได้หรือไม่ พื้นที่เหนือแหล่งน้ำ ควรปลูกเพื่อเป็นแนวป้องกันตะกอนและดูดซับสารพิษต่าง ๆ ไว้ในรากและลำต้นได้นาน จนสารเคมีนั้นสลายตัวเป็นปุ๋ยสำหรับพืชต่อไป ทั้งนี้ให้บันทึกภาพก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน ส่วนผลของการศึกษาทดลอง ควรเก็บข้อมูลทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้นและราก ความสามารถในการอนุรักษ์และเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน การเก็บความชื้นของดิน และ ด้านพันธุ์ต่าง ๆ ของหญ้าแฝกด้วย"

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น