วิธีการปลูก เกี่ยวกับโครงการหญ้าเเฝก
การปลูกหญ้าเเฝก
การทดลองปลูกหญ้าแฝกในที่ลาดเอียงให้ผลน่าพอใจ รากหญ้าแฝกยาวถึง 3 เมตรในเวลา 8 เดือน และระบบรากแผ่กระจายในดินตลอดความลึก 3 เมตร และความกว้าง 50 เซนติเมตร ภายใต้อีกตัวอย่างหนึ่งของพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับหญ้าแฝกซึ่งได้พระราชทาน แก่เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2536 มีใจความว่า "... การปลูกหญ้าแฝก ถ้าปลูกกอเล็ก ควรปลูกให้ใกล้และ ชิดกัน จะได้ผลเร็วกว่าและสิ้นเปลืองน้อยกว่าการปลูกกอใหญ่ และมีระยะห่างกัน และควรปลูกตามความห่างของแถวในแนวลาดเทประมาณเท่าความสูงของคน คือ 1.50 เมตร และทำแถวให้ขนานกับทางลาดเทด้วย …." ในโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มตามแนวพระราชดำริที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกไว้ ซึ่งมีใจความสรุปได้เป็น 2 ประการ คือ ( 1) ควรปลูกหญ้าแฝกล้อมรอบไม้ผล เพื่อป้องกันไม่ให้ดินรอบๆ ต้นไม้เป็นหลุม ในขณะเดียวกันก็ใช้ใบหญ้าแฝกที่ตัดออกจากกอมาคลุมดินรอบๆ ต้นไม้ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ต้นไม้ ได้อีกด้วย และ ( 2) การปลูกหญ้าแฝกในแปลงเพาะปลูกพืชสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ปลูกโดยรอบแปลงปลูก ในแปลงๆ ละ 1 หรือ 2 แถว และปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้ง 6 แห่ง ทดลองปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์ต่างๆ ด้วย ซึ่งผลการทดลองดังกล่าวที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง คือ เมื่อปลูกหญ้าแฝกระหว่างแถวของข้าวโพดและถั่วลิสง ในพื้นที่ที่มีความลาดเท 5% มีการสูญเสียหน้าดินเพียง 0.92 - 2.27 ตันต่อไร่ต่อปี ในขณะที่พื้นที่ลาดเทเท่ากัน แต่ไม่มีการปลูกหญ้าแฝก มีการสูญเสียหน้าดิน 5.27 ตันต่อไร่ต่อปี นอกจากนี้ พื้นที่ที่ปลูกหญ้าแฝกยังรักษาความชุ่มชื้นของดินได้มากกว่าอีกด้วย หญ้าแฝกที่เจริญเติบโตได้ดีในดินประเภทต่างๆ ได้แก่ สายพันธุ์กำแพงเพชร 1 และ 6 , สงขลา 3 , นครสวรรค์ , ร้อยเอ็ด , และราชบุรี สำหรับดินทราย สายพันธุ์ศรีลังกา กำแพงเพชร 2 , สุราษฎร์ธานี , สงขลา 3 และเลย สำหรับดินลูกรัง กับสายพันธุ์ สุราษฎร์ธานี , สงขลา 3 เลย และนครสวรรค์ สำหรับดินร่วนและดินเหนียวการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรบนที่ดอนหรือที่สูง จะใช้ในการเพาะปลูกพืชไร่และไม้ผล เป็นหลัก แต่พื้นที่เหล่านี้มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีระบบการชลประทาน พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูก จึงเป็นพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝน ปัจจุบันแม้ว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยที่ตกในแต่ละปีจะมีปริมาณเท่าๆ หรือใกล้เคียงกัน แต่เกษตรกรก็มักประสบปัญหาภัยแล้ง หรือภาวะพืชที่เพาะปลูกขาดแคลนน้ำเป็นประจำ ก่อความเสียหายแก่เกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหาภาวะพืชขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่เกษตรน้ำฝน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินให้ได้อย่างยาวนาน แต่เท่าที่ผ่านมาตราบจนปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่เกษตรยังคงใช้น้ำฝนเพาะปลูกติดต่อกันมา โดยมิได้มีมาตรการใดในการช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินเลย ดังจะเห็นได้จากกการที่ฝนตกลงมาก็ปล่อยให้น้ำฝนเป็นจำนวนมากไหลบ่าออกจากพื้นที่ลงสู่แม่น้ำลำคลอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์แล้ว น้ำฝนที่ไหลบ่ายังจะกัดเซาะและพัดพาหน้าดินซึ่งมีปุ๋ยและธาตุอาหารพืชที่สำคัญ ให้สูญเสียไปอีกด้วย มาตรการในการช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินให้ได้อย่างยาวนาน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายๆ และมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปลูกหญ้าแฝกแถวเดียวเป็นแนวรั้วตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ โดยแนวรั้วหญ้าแฝกดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดแรงปะทะของน้ำฝนที่ไหลบ่า ทำให้น้ำแผ่กระจายและไหลซึมผ่านแนวรั้วหญ้าแฝก
ซึ่งจะทำให้น้ำมีโอกาสไหลซึมลงเก็บกักรักษาไว้ในดินได้ทั่วพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ดินมีความชุ่มชื้น เป็นประโยชน์ต่อพืชหลักที่ปลูกไว้ต่อไป นอกจากมีลักษณะพิเศษของหญ้าแฝกที่แตกต่างไปจากหญ้าอื่นๆ โดยทั่วไปก็ คือ ระบบรากฝอย ของหญ้าแฝกจะแข็งแรงและหนาแน่น สามารถชอนไชหยั่งลึกลงในดินตามแนวดิ่งได้ถึง 3 เมตร และรากจะไม่เจริญแผ่ขยายออกทางด้านกว้าง จึงไม่แย่งอาหารของพืชหลักที่ปลูกใกล้เคียงกัน หญ้าแฝกมีรากแกนและรากแขนงอวบใหญ่ จึงทำให้เกาะยึดดินและดูดซับน้ำไว้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่แล้ว นอกจากต้นที่เจริญแตกกอ อัดกันแน่นเป็นกำแพง อยู่เหนือดินแล้วรากของหญ้าแฝกก็จะสานกันแน่นเป็นกำแพงอยู่ในดิน ทำหน้าที่เกาะ ยึดติดและดูดซับเก็บความชื้นไว้ในดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วิธีการและรูปแบบการปลูก ตามลักษณะพื้นที่
จากหลักการและลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก ดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงได้มีการประยุกต์ใช้ประโยชน์ ของหญ้าแฝกในด้านต่าง ๆ ได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน สำหรับปลูกไม้ผลก็ใช้หลักการเดียวกัน ทั้งนี้วิธีการและรูปแบบการปลูกหญ้าแฝก ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ที่เกษตรกรสามารถเลือก ใช้รูปแบบหนึ่งตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
บนพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะแถบภาคเหนือและภาคใต้ ที่เกษตรกรนิยมปลูกไม้ผลหรือ ไม้ยืนต้น ดังกล่าว จะปลูกบนคันคูรับน้ำรอบขอบเขาหรือขั้นบันไดดิน ซึ่งมักจะประสบปัญหาคันดินที่สร้างไว้ถูกน้ำฝนกัดเซาะพังทลายเสียหายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะก่อสร้างแล้วเสร็จใหม่ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว และเพื่อเป็นการรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินให้ได้อย่างยาวนาน มาตรการที่เหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ได้แก่ การปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
การตรียมพันธุ์หญ้าแฝก
เตรียมหน่อพันธุ์ซึ่งได้เพาะชำไว้ในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 2นิ้ว X 6นิ้ว พร้อมคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินหรือสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่อยู่ใกล้บ้านท่านได้
การเตรียมดิน
หลังจากได้ดำเนินการทำคันคูน้ำรอบขอบเขา หรือขั้นบันไดดินแล้วเสร็จ จะต้องเร่งเตรียมดินบริเวณขอบคันดิน เพื่อปลูกหญ้าแฝกโดยทันที ทั้งนี้โดยการพรวนดินให้ละเอียดเป็นแนวแคบๆ ชิดขอบคันด้านนอกและเพื่อให้หญ้าแฝกเจริญเติบโต และทำหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วควรผสมปุ๋ยหมักและโรยด้วย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 แค่เพียงบางๆ คลุกเคล้าลงไปด้วยจะได้ผลดีมาก
การปลูกหญ้าแฝก
นำกล้าหญ้าแฝกที่ได้จัดเตรียมไว้แล้วลงปลูก โดยดึงถุงพลาสติกออก(ถุงที่ไม่ขาดสามารถนำไปใช้ในการขยายพันธุ์ได้อีก) ปลูกเป็นแถวเดี่ยวระยะห่างระหว่างโคนต้น 10 เซนติเมตร กลบดินให้แน่นควรปลูกในขณะที่ดินยังมีความชุ่มชื้น
การดูแลรักษา
หญ้าแฝกเป็นพืชที่ไม่ต้องมีการดูแลรักษาที่มากนัก แต่เพื่อให้ได้ผลดีและทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในระยะแรกหลังปลูกควรตรวจตราอย่างสม่ำเสมอและดำเนินการปลูกซ่อมทันทีเมื่อพบต้นที่ตายไปหลังจากปลูกเมื่ออายุได้ 3 เดือน ควรตัดยอดหรือใบให้เหลือความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร จะทำให้หญ้าแฝกแตกกอเรียงชิดกันได้เร็วยิ่งขึ้น ควรระวังและกำจัดวัชพืชพวกไม้เถา ซึ่งจะเลื้อยพันและคลุมหญ้าแฝกทำให้หญ้าแฝกไม่เจริญเติบโต เมื่อหญ้าแฝกเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะได้รั้วหญ้าแฝกที่อัดกันแน่น ป้องกันการไหลบ่าของน้ำฝนและทำให้น้ำฝนไหลซึมลงสู่ดินได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่วนรากของหญ้าแฝกที่หยั่งลึกและสานกันแน่นเป็นกำแพงอยู่ใต้ดินก็จะช่วยกักเก็บดูดซับความชื้นไว้ในดินได้อย่างยาวนาน และช่วยในการยึดเกาะดินไม่ให้คันคูขอบเขาหรือคันขั้นบันไดดินเสียหายอีกด้วย
จากหลักการและลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก ดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงได้มีการประยุกต์ใช้ประโยชน์ ของหญ้าแฝกในด้านต่าง ๆ ได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน สำหรับปลูกไม้ผลก็ใช้หลักการเดียวกัน ทั้งนี้วิธีการและรูปแบบการปลูกหญ้าแฝก ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ที่เกษตรกรสามารถเลือก ใช้รูปแบบหนึ่งตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
บนพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะแถบภาคเหนือและภาคใต้ ที่เกษตรกรนิยมปลูกไม้ผลหรือ ไม้ยืนต้น ดังกล่าว จะปลูกบนคันคูรับน้ำรอบขอบเขาหรือขั้นบันไดดิน ซึ่งมักจะประสบปัญหาคันดินที่สร้างไว้ถูกน้ำฝนกัดเซาะพังทลายเสียหายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะก่อสร้างแล้วเสร็จใหม่ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว และเพื่อเป็นการรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินให้ได้อย่างยาวนาน มาตรการที่เหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ได้แก่ การปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
การตรียมพันธุ์หญ้าแฝก
เตรียมหน่อพันธุ์ซึ่งได้เพาะชำไว้ในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 2นิ้ว X 6นิ้ว พร้อมคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินหรือสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่อยู่ใกล้บ้านท่านได้
การเตรียมดิน
หลังจากได้ดำเนินการทำคันคูน้ำรอบขอบเขา หรือขั้นบันไดดินแล้วเสร็จ จะต้องเร่งเตรียมดินบริเวณขอบคันดิน เพื่อปลูกหญ้าแฝกโดยทันที ทั้งนี้โดยการพรวนดินให้ละเอียดเป็นแนวแคบๆ ชิดขอบคันด้านนอกและเพื่อให้หญ้าแฝกเจริญเติบโต และทำหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วควรผสมปุ๋ยหมักและโรยด้วย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 แค่เพียงบางๆ คลุกเคล้าลงไปด้วยจะได้ผลดีมาก
การปลูกหญ้าแฝก
นำกล้าหญ้าแฝกที่ได้จัดเตรียมไว้แล้วลงปลูก โดยดึงถุงพลาสติกออก(ถุงที่ไม่ขาดสามารถนำไปใช้ในการขยายพันธุ์ได้อีก) ปลูกเป็นแถวเดี่ยวระยะห่างระหว่างโคนต้น 10 เซนติเมตร กลบดินให้แน่นควรปลูกในขณะที่ดินยังมีความชุ่มชื้น
การดูแลรักษา
หญ้าแฝกเป็นพืชที่ไม่ต้องมีการดูแลรักษาที่มากนัก แต่เพื่อให้ได้ผลดีและทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในระยะแรกหลังปลูกควรตรวจตราอย่างสม่ำเสมอและดำเนินการปลูกซ่อมทันทีเมื่อพบต้นที่ตายไปหลังจากปลูกเมื่ออายุได้ 3 เดือน ควรตัดยอดหรือใบให้เหลือความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร จะทำให้หญ้าแฝกแตกกอเรียงชิดกันได้เร็วยิ่งขึ้น ควรระวังและกำจัดวัชพืชพวกไม้เถา ซึ่งจะเลื้อยพันและคลุมหญ้าแฝกทำให้หญ้าแฝกไม่เจริญเติบโต เมื่อหญ้าแฝกเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะได้รั้วหญ้าแฝกที่อัดกันแน่น ป้องกันการไหลบ่าของน้ำฝนและทำให้น้ำฝนไหลซึมลงสู่ดินได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่วนรากของหญ้าแฝกที่หยั่งลึกและสานกันแน่นเป็นกำแพงอยู่ใต้ดินก็จะช่วยกักเก็บดูดซับความชื้นไว้ในดินได้อย่างยาวนาน และช่วยในการยึดเกาะดินไม่ให้คันคูขอบเขาหรือคันขั้นบันไดดินเสียหายอีกด้วย
2. พื้นที่ที่มีความลาดเทปานกลาง - ต่ำ
บนพื้นที่ที่มีความลาดเท จะเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการชะล้างพังทลายของดินจากน้ำฝนที่ไหลบ่า ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและกักน้ำที่ไหลบ่าไว้ในดินให้ชุ่มชื้นอย่างยาวนาน จึงควรที่จะมีการปลูกหญ้าแฝก ตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่บนพื้นที่ที่มีความลาดเทสม่ำเสมอ
ความถี่ห่างของแนวหญ้าแฝกที่จะปลูกขึ้นอยู่กับระดับความสูงต่ำของพื้นที่ พื้นที่ที่มีความลาดเทสูง แนวหญ้าแฝกก็จะถี่กว่าพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ำ แต่ทั้งนี้ความห่างระหว่างแนวหญ้าแฝกที่จะปลูกจะต้องอยู่ห่างกันไม่เกินค่าสูงต่ำตามแนวดิ่ง 1.50 เมตร ซึ่งจะหาได้จากการใช้สายยางหาระดับแบบช่างไม้ ดังนั้นในพื้นที่สวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้นที่ปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดเทสม่ำเสมอนั้นจึงกระทำได้ง่าย ทั้งนี้เมื่อกำหนดแนวที่จะปลูกได้แนวแรกแล้ว แนวต่อๆ ไปก็ใช้จำนวนแถวของไม้ผลที่จะปลูกเป็นตัวกำหนด เช่น ในแนวแรกมีไม้ผล 3 แถว ดังนั้นทุกๆ 3 แถวของไม้ผลก็จะปลูกหญ้าแฝก 1 แนวจนตลอดพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้หญ้าแฝกได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแนวปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นก็จะต้องวางแนวปลูกตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ด้วย และการปลูกหญ้าแฝกระหว่างแถวไม้ผลจะปลูกห่างจากโคนไม้ผลที่จะปลูก 1.50-2.00 เมตร ดังนั้นความห่างของหญ้าแฝกตามแนวดิ่งอาจน้อยกว่า 1.50 เมตร หรือเกินกว่า 1.50 เมตร เล็กน้อยก็ได้ ตามความเหมาะสมของแถวไม้ผลที่ปลูกสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่สม่ำเสมอ ที่จะใช้ในการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินกำหนดได้จากสภาพความลาดเทของพื้นที่ ถ้าพื้นที่มีความลาดเทค่อนข้างสูงแล้ว จะต้องพิจารณาถึงการป้องกันการสูญเสียดินจากน้ำที่ไหลบ่าด้วย ดังนั้นในสภาพพื้นที่ดังกล่าว การปลูกหญ้าแฝกก็จะใช้วิธีการเดียวกันกับการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างและพังทลายของดิน โดยวางแนวปลูกตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ตลอดพื้นที่แต่ละแนวจะห่างกันตามค่าความสูงต่ำตามแนวดิ่ง 1.50 เมตร ดังรายละเอียดเอกสารคำแนะนำเรื่อง การใช้ประโยชน์หญ้าแฝก เพื่อการป้องกันการพังทลายของดินสำหรับพื้นที่ ที่มีความลาดเท ไม่สม่ำเสมอ แต่มีความลาดเทเพียงเล็กน้อยจะมีปัญหาการสูญเสียดินจากน้ำฝนที่ไหลบ่าไม่มากนักการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินกระทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1.ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล ทั้งนี้โดยปลูกเป็นวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้น รัศมีจากโคนต้นไม้ผล 1.50 - 2.00 เมตร
2.ปลูกแบบครึ่งวงกลม โดยการปลูกหญ้าแฝกห่างจากโคนไม้ผล 1.50 - 2.00 เมตร แบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝนที่จะไหลบ่าลงมากักเก็บไว้ การปลูกหญ้าแฝกแบบวงกลมและแบบครึ่งวงกลมนี้ มีการเตรียมดินและการปลูกรวมทั้งการดูแลรักษาเช่นเดียวกันดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งการปลูกทั้ง 2 แบบนี้ จะเป็นการควบคุมเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินเฉพาะต้น ซึ่งเมื่อหญ้าแฝกเจริญเติบโตเต็มที่แล้วควรมีการตัดใบหญ้าแฝกให้เหลือสูงประมาณ 40 เซนติเมตร เป็นประจำ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง โดยนำใบหญ้าแฝกที่ตัดได้นำไปคลุกโคนไม้ผล จะช่วยลดการสูญเสียของน้ำในดินจากการระเหยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ใบหญ้าแฝกก็จะค่อยๆ ผุพังสลายตัวเป็นปุ๋ยให้แก่ไม้ผลที่ปลูกได้อีกด้วย
3. พื้นที่ที่ไม่มีความลาดเท หรือพื้นที่ระดับ
บนพื้นที่ที่ไม่มีความลาดเท หรือพื้นที่ระดับจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียดิน แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ราบเพียงใดก็ตามการไหลบ่าของน้ำฝนก็จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นวิธีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน ในพื้นที่ระดับโดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรน้ำฝนจะปลูกเพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ในพื้นที่ โดยให้ไหลบ่าออกจากพื้นที่ให้น้อยที่สุด ดังนั้นวิธีการปลูกหญ้าแฝกก็จะปลูกเป็นแถวเดี่ยว ล้อมรอบพื้นที่และบริเวณที่ปลูกไม้ผลก็จะปลูกหญ้าแฝกระหว่างแถวไม้ผลที่ปลูก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตัดใบคลุมโคนไม้ผลลดการสูญเสียน้ำในดินจากแสงแดดและนอกจากนี้ อาจจะปลูกแบบวงกลมรอบโคนต้นไม้ผลดังกล่าวมาแล้วก็ได้เช่นกัน การปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้นนั้นมีข้อเสียที่ว่าจะต้องใช้กล้าหญ้าเป็นจำนวนมากกว่าปลูกแบบเป็นแถวตรง นอกจากนี้การเตรียมดินหรือการไถพรวนเพื่อปลูกพืชเสริมรายได้ในช่วงที่ไม้ผลยังไม่ให้ผลผลิตกระทำได้ยากกว่า ส่วนข้อดีที่นอกเหนือจากการเก็บกักความชุ่มชื้นก็คือจะได้ผลผลิตจากใบหญ้าเพื่อใช้ในการคลุมดินสูงกว่าวิธีอื่น ๆ
บนพื้นที่ที่มีความลาดเท จะเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการชะล้างพังทลายของดินจากน้ำฝนที่ไหลบ่า ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและกักน้ำที่ไหลบ่าไว้ในดินให้ชุ่มชื้นอย่างยาวนาน จึงควรที่จะมีการปลูกหญ้าแฝก ตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่บนพื้นที่ที่มีความลาดเทสม่ำเสมอ
ความถี่ห่างของแนวหญ้าแฝกที่จะปลูกขึ้นอยู่กับระดับความสูงต่ำของพื้นที่ พื้นที่ที่มีความลาดเทสูง แนวหญ้าแฝกก็จะถี่กว่าพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ำ แต่ทั้งนี้ความห่างระหว่างแนวหญ้าแฝกที่จะปลูกจะต้องอยู่ห่างกันไม่เกินค่าสูงต่ำตามแนวดิ่ง 1.50 เมตร ซึ่งจะหาได้จากการใช้สายยางหาระดับแบบช่างไม้ ดังนั้นในพื้นที่สวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้นที่ปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดเทสม่ำเสมอนั้นจึงกระทำได้ง่าย ทั้งนี้เมื่อกำหนดแนวที่จะปลูกได้แนวแรกแล้ว แนวต่อๆ ไปก็ใช้จำนวนแถวของไม้ผลที่จะปลูกเป็นตัวกำหนด เช่น ในแนวแรกมีไม้ผล 3 แถว ดังนั้นทุกๆ 3 แถวของไม้ผลก็จะปลูกหญ้าแฝก 1 แนวจนตลอดพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้หญ้าแฝกได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแนวปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นก็จะต้องวางแนวปลูกตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ด้วย และการปลูกหญ้าแฝกระหว่างแถวไม้ผลจะปลูกห่างจากโคนไม้ผลที่จะปลูก 1.50-2.00 เมตร ดังนั้นความห่างของหญ้าแฝกตามแนวดิ่งอาจน้อยกว่า 1.50 เมตร หรือเกินกว่า 1.50 เมตร เล็กน้อยก็ได้ ตามความเหมาะสมของแถวไม้ผลที่ปลูกสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่สม่ำเสมอ ที่จะใช้ในการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินกำหนดได้จากสภาพความลาดเทของพื้นที่ ถ้าพื้นที่มีความลาดเทค่อนข้างสูงแล้ว จะต้องพิจารณาถึงการป้องกันการสูญเสียดินจากน้ำที่ไหลบ่าด้วย ดังนั้นในสภาพพื้นที่ดังกล่าว การปลูกหญ้าแฝกก็จะใช้วิธีการเดียวกันกับการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างและพังทลายของดิน โดยวางแนวปลูกตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ตลอดพื้นที่แต่ละแนวจะห่างกันตามค่าความสูงต่ำตามแนวดิ่ง 1.50 เมตร ดังรายละเอียดเอกสารคำแนะนำเรื่อง การใช้ประโยชน์หญ้าแฝก เพื่อการป้องกันการพังทลายของดินสำหรับพื้นที่ ที่มีความลาดเท ไม่สม่ำเสมอ แต่มีความลาดเทเพียงเล็กน้อยจะมีปัญหาการสูญเสียดินจากน้ำฝนที่ไหลบ่าไม่มากนักการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินกระทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1.ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล ทั้งนี้โดยปลูกเป็นวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้น รัศมีจากโคนต้นไม้ผล 1.50 - 2.00 เมตร
2.ปลูกแบบครึ่งวงกลม โดยการปลูกหญ้าแฝกห่างจากโคนไม้ผล 1.50 - 2.00 เมตร แบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝนที่จะไหลบ่าลงมากักเก็บไว้ การปลูกหญ้าแฝกแบบวงกลมและแบบครึ่งวงกลมนี้ มีการเตรียมดินและการปลูกรวมทั้งการดูแลรักษาเช่นเดียวกันดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งการปลูกทั้ง 2 แบบนี้ จะเป็นการควบคุมเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินเฉพาะต้น ซึ่งเมื่อหญ้าแฝกเจริญเติบโตเต็มที่แล้วควรมีการตัดใบหญ้าแฝกให้เหลือสูงประมาณ 40 เซนติเมตร เป็นประจำ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง โดยนำใบหญ้าแฝกที่ตัดได้นำไปคลุกโคนไม้ผล จะช่วยลดการสูญเสียของน้ำในดินจากการระเหยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ใบหญ้าแฝกก็จะค่อยๆ ผุพังสลายตัวเป็นปุ๋ยให้แก่ไม้ผลที่ปลูกได้อีกด้วย
3. พื้นที่ที่ไม่มีความลาดเท หรือพื้นที่ระดับ
บนพื้นที่ที่ไม่มีความลาดเท หรือพื้นที่ระดับจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียดิน แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ราบเพียงใดก็ตามการไหลบ่าของน้ำฝนก็จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นวิธีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน ในพื้นที่ระดับโดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรน้ำฝนจะปลูกเพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ในพื้นที่ โดยให้ไหลบ่าออกจากพื้นที่ให้น้อยที่สุด ดังนั้นวิธีการปลูกหญ้าแฝกก็จะปลูกเป็นแถวเดี่ยว ล้อมรอบพื้นที่และบริเวณที่ปลูกไม้ผลก็จะปลูกหญ้าแฝกระหว่างแถวไม้ผลที่ปลูก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตัดใบคลุมโคนไม้ผลลดการสูญเสียน้ำในดินจากแสงแดดและนอกจากนี้ อาจจะปลูกแบบวงกลมรอบโคนต้นไม้ผลดังกล่าวมาแล้วก็ได้เช่นกัน การปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้นนั้นมีข้อเสียที่ว่าจะต้องใช้กล้าหญ้าเป็นจำนวนมากกว่าปลูกแบบเป็นแถวตรง นอกจากนี้การเตรียมดินหรือการไถพรวนเพื่อปลูกพืชเสริมรายได้ในช่วงที่ไม้ผลยังไม่ให้ผลผลิตกระทำได้ยากกว่า ส่วนข้อดีที่นอกเหนือจากการเก็บกักความชุ่มชื้นก็คือจะได้ผลผลิตจากใบหญ้าเพื่อใช้ในการคลุมดินสูงกว่าวิธีอื่น ๆ

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น