บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

แหล่งอ้างอิง

แหล่งอ้างอิง 1. โครงการหญ้าแฝก.สืบค้นเมื่อ21พฤศจิกายนพ.ศ.2559.จากเว็บhttp://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com/content/index.php?page=content&type=view&cat=16&id=192 2. โครงการหญ้าแฝก.สืบค้นเมื่อ21พฤศจิกายนพ.ศ.2559.จากเว็บ http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/19 3. โครงการหญ้าแฝก.สืบค้นเมื่อ21พฤศจิกายนพ.ศ.2559.จากเว็บ https://sites.google.com/site/hyafaek/-khorngkar-pluk-hya-faek 4. หญ้าแฝก.สืบค้นเมื่อ21พฤศจิกายนพ.ศ.2559.จากเว็บ https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%81&espv=2&biw=1920&bih=979&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjXtdq8_bjQAhWKqo8KHWDlBqYQ_AUIBigB

เเก้ปัญหาดินดาน

รูปภาพ
แก้ปัญหาดินดาน นอกจากหญ้าแฝกจะแตกกอใหม่แล้ว รากยังแผ่ชอนไชลงในดิน ทว่า ในพื้นที่การเกษตรบางแห่ง ดินมีลักษณะแข็งเป็นดาน รากพืชทั่วไปไม่สามารถชอนไชลงไปได้ เกษตรกรต้องใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูก            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงแก้ไขปัญหาดินดานได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรราคาแพง ทรงทราบว่ารากหญ้าแฝกยาวและมีพลังชอนไชลงในดินได้ลึกมาก เช่น ที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จังหวัดเชียงราย รากหญ้าแฝกสามารถชอนไชลึกลงในดินได้ถึง 5.2 เมตร ซึ่งนับเป็นสถิติโลก จึงพระราชทานแนวทางแก้ปัญหาผ่าน ดร.สุเมธ ให้ใช้สว่านเจาะนำลึกลงไปถึงชั้นดินที่แข็งเป็นดาน สว่านที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องไฟฟ้า แต่สามารถใช้สว่านเจาะด้วยมือ จากนั้นจึงใส่ปุ๋ยธรรมชาติลงไป ก่อนปลูกหญ้าแฝก ทรงอธิบายว่า การปลูกหญ้าแฝกวิธีนี้จะช่วยกักเก็บความชื้นไว้ในดินได้ ส่งผลให้ดินอ่อนตัวลงเพราะรากหญ้าแฝกสามารถเจาะทะลุดินดาน ทำให้เพาะปลูกได้            ในพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ  ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่อ...

ประวัติคนที่คิดริเรื่มเกี่ยวกับโครงการหญ้าเเฝก

รูปภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน และการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ  “หญ้าแฝก”  ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลาย ของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถ ดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย กว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลอง เกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า Vetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A.  Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุ ได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม. มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อ  จากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้  เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้  พระบาทสมเด็จพระปรมินทร...

สายพันธุ์หญ้าแฝก

หญ้าแฝกลุ่ม  (Vetiveria zizanioides Nash)           ลักษณะที่สำคัญ คือ หลังใบโค้งปลายใบ แบนมีสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างเนียน มีใขเคลือบ (wax) มากทำให้ดูมัน ท้องใบออกสีขาว ซีดกว่าด้านหลังใบ และเมื่อนำใบส่องดูกับแดดจะเห็นรอยกั้นขวางในเนื้อใบ (septum) โดยเฉพาะพื้นใบบริเวณส่วนโคนและกลางใบ เส้นกลางใบ (midrib) ฝังอยู่ในตัวแผ่นใบไม่โตหรือเด่นชัดเจน           หญ้าแฝกลุ่มอายุประมาณ 1 ปี จะมีรากที่หยั่งลึกได้ประมาณกว่า 1 เมตร จะขึ้นอยู่กับสภาพของดินและความสมบูรณ์ของพืช โดยเฉพาะดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดีหญ้าแฝกจะให้รากยาวที่สุด สายพันธุ์กำแพงเพชร 2      ลักษณะกอตั้ง มีการแตกหน่อค่อนข้างหลวม ใบมีสีเขียว ท้องใบมีสีขาว ใบค่อนข้างเล็ก ความกว้างของใบเฉลี่ย 0.9 เซนติเมตรใบจะเป็นมัน ดอกสีม่วงน้ำตาล สายพันธุ์ศรีลังกา      ลักษณะกอตั้ง มีการแตกหน่อค่อนข้างหลวม ใบมีสีเขียว ท้องใบมีสีขาว ใบค่อนข้างเล็ก ความกว้างของใบเฉลี่ย 0.9...

ลักษณะของหญ้าแฝก

รูปภาพ
ลักษณะของหญ้าแฝก      หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่  1. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา ๓ และพระราชทาน ฯลฯ  2. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร ๑ นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น      หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะ แคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน  ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้  1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง  2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก  3. หญ...

วิธีการปลูก เกี่ยวกับโครงการหญ้าเเฝก

รูปภาพ
การปลูกหญ้าเเฝก การทดลองปลูกหญ้าแฝกในที่ลาดเอียงให้ผลน่าพอใจ     รากหญ้าแฝกยาวถึง  3  เมตรในเวลา        8  เดือน     และระบบรากแผ่กระจายในดินตลอดความลึก  3  เมตร    และความกว้าง  50  เซนติเมตร ภายใต้อีกตัวอย่างหนึ่งของพระราชดำริ    ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับหญ้าแฝกซึ่งได้พระราชทาน                แก่เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) เมื่อวันที่  24  สิงหาคม พ.ศ.  2536  มีใจความว่า     "...  การปลูกหญ้าแฝก ถ้าปลูกกอเล็ก    ควรปลูกให้ใกล้และ ชิดกัน จะได้ผลเร็วกว่าและสิ้นเปลืองน้อยกว่าการปลูกกอใหญ่ และมีระยะห่างกัน และควรปลูกตามความห่างของแถวในแนวลาดเทประมาณเท่าความสูงของคน คือ   1.50   เมตร และทำแถวให้ขนานกับทางลาดเทด้วย  …."     ในโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มตามแนวพระราชดำริที่อำ...

การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก

รูปภาพ
การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า    การพังทลายของดินอันสืบเนื่องมาจากน้ำไหลบ่าตามผิวดิน    เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ    และส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศต่ำกว่าที่ควรจะเป็น    จึงเป็นปัญหา    ที่สมควรได้รับการแก้ไขป้องกันโดยเร็ว    ด้วยการนำมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ    ที่เหมาะสมมาใช้    มาตรการหนึ่งที่ได้ทรงแนะนำ    ได้แก่ มาตรการ         หญ้าแฝกโดยได้พระราชทานพระราชดำริ     เป็นครั้งแรกแก่เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   ( ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล)    เมื่อวันที่  22 มิถุนายน พ.ศ.  2534  และต่อมาก็ได้พระราชทานพระราชดำริแก่ผู้เกี่ยวข้อง ในวาระต่าง ๆ พระราชดำริดังกล่าวมีประเด็นสำคัญโดยสรุปดังนี้    "….  หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ  ...

ประโยชน์ของหญ้าแฝก

รูปภาพ
ประโยชน์ของหญ้าแฝก  1. ด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ     1. ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน     2. แถวหญ้าแฝกช่วยกักเก็บตะกอนดิน     3. ลดความแรงของน้ำที่ไหลบ่า     4. ช่วยกักเก็บน้ำไว้ในดินและพื้นที่ตอนบน     5. ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ 2. ด้านฟื้นฟูและปรับปรุงดิน     1. เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน                     2. รักษาความชื้นในดิน     3. ช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น     4. ทำให้ดินโปร่งและระบายอากาศของดินดี     5. เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน 3. ด้านรักษาสภาพแวดล้อม     1. ช่วยรักษาคุณภาพน้ำและแหล่งน้ำ     2. ดูดซับโลหะหนักจากสภาพแวดล้อม     3. ช่วยในการบำบัดและกรองน้ำเสีย     4. ป้องกันการพังทลายของไหล่ถนน ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก ...

ศาสตร์พระราชา เรื่อง โครงการหญ้าแฝก

รูปภาพ
ศาสตร์พระราชา เรื่อง โครงการหญ้าแฝก การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนี่งของประเทศ มีผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงพระราชทานพระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขี้น เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย มีรากที่ยาว แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผง และง่ายต่อการรักษา เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเป็นครั้งแรกให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำการศึกษา ทดลอง และดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและเพื่อประโยชน์อื่น ๆ หน่วยงานทั้งหลายจึงได้รับสนองพระราชดำริตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นผู้ประสานงาน

ศาสตร์พระราชา เรื่อง โครงการหญ้าเเฝก

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาในศาสตร์พระราชาในเรื่อง โครงการหญ้าเเฝก  ได้รับประโยชน์ดังนี้ 1.  ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี 2.  ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 3. ป้องกันและแก้ไขปัญหาจึงพระราชทานพระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝก มาใช้ ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังจากได้ศึกษา  ศาสตร์พระราชา โครงการหญ้าแฝก มีดังนี้               สมาชิกคนที่ 1 ด.ช.จักรกฤษณ์ รักพวกกลาง มีความเห็นว่า โครงการหญ้าแฝกมีประโยชน์ จำเป็นต่อดินมากเป็นพืชที่มีรากยาวฝังลงดินดำตรงๆและแนบกับพื้นดิน เติบโตได้ดีในที่ๆมีน้ำอุ้มขังและในสะภาพดินที่แห้งแล้ง สมาชิกคนที่ 2 ด.ญ. ชาริสา พันธุ์มาก มีความเห็นว่า การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนี่งของประเทศ มีผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงพระราชทาน พระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ สมาชิกคนที่ 3 ด.ญ. ธนิษฐา วายุโชติ มีความเห็นว่า โครงการหญ้าแ...